วันนี้ Sharing Citizen ขอเชิญชวนคุณมาทำความรู้จักกับโลกของจิตใจ หรือ “โลกภายใน” ผ่านโมเดลภูเขาน้ำแข็ง ที่จะช่วยให้เราเข้าใจกลไกการทำงานของความคิด ความรู้สึก ความต้องการรวมไปถึงความคาดหวังที่เกิดขึ้นภายในตัวเรา จากงาน “สำรวจโลกภายในผ่านอุปลักษณ์ภูเขาน้ำแข็ง” โดย คุณชัยยศ กระบวนกรผู้เชี่ยวขาญในศาสตร์ของซาเทียร์ โมเดลภูเขาน้ำแข็งของซาเทียร์ โครงสร้างของจิตใจนั้นประกอบไปด้วย สิ่งที่เราสัมผัสจากเหตุการณ์ (Event) : บนสุดของภูเขาน้ำแข็งที่เหตุได้ด้วยตา และหลายคนนำเหตุการณ์เหล่านั้นมาตีความด้วยความคิดและมุมมองที่แตกต่างกันออกไป ความรู้สึกที่เกิดขึ้น (Feeling) : สิ่งที่เกิดขึ้นภายในตัวเรา และส่งผลให้เราอารมณ์ สีหน้า ท่าทาง มุมมอง (Perception) : ความคิดหรือทิศทางการมองเหตุการณ์ รวมไปถึงการวิเคราะห์ ตีความ ประเมินผล และคาดการณ์ ซึ่งหากในการทำงานเราจะสื่อสารกันโดยทำความเข้าใจในเรื่องนี้จะทำให้การทำงานเราสมเหตุสมผล ความคาดหวัง (Expectation) …
จริงๆเเล้วตัวตนของเราเป็นแบบไหนกัน ? ถ้าไม่นับรวมร่างกายซึ่งเป็นสิ่งรูปธรรมเเละจับต้องได้ เเล้วอะไรกันเเน่ที่บอกว่า “เราเป็นเรา” ในทางจิตวิทยามีคำศัพทย์ที่ใช้อธิบายสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นว่า self-concept หรือ อัตมโนทัศน์ อัตมโนทัศน์คือความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจ การรับรู้และทัศนคติของแต่ละบุคคลที่มีต่อตนเองในทุกๆ ด้าน ซึ่งเกิดมาจากเรียนรู้และ ประสบการณ์ที่บุคคลได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อม โดยส่งผลต่อบุคคลิกภาพ และพฤติกกรมที่เป็นไปได้ในอนาคต หนึ่งในนักจิตวิทยาที่พยายามอธิบาย self-concept คือ Dr. Bruce A. Bracken เขาเสนอแนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างของ self-concept ว่ามันประกอบด้วยมิติ 6 ด้านดังนี้ 1) คุณลักษณะด้านสังคม (Social) หมายถึง การประเมินตนเองเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ เช่น การมีเพื่อนสนิทสักคนก็มากพอที่จะมีให้คุณมีมิติ social ที่สูงได้ 2) คุณลักษณะด้านความสามารถ…
เราไม่น่าทำตัวแบบนั้นเลย ? เคยไหม ที่คำถามนี้ผุดขึ้นมาในใจ หลังจากที่คุณทำอะไรพลาดไปโดยที่ไม่ทันคิดหรือระวังตัว ในชีวิตประจำวัน เราพบเจอเหตุการณ์มากมาย ทำให้เราอาจไม่อยู่นสภาวะที่สมบูรณ์ที่สุดในการตัดสินใจหนึ่งๆ ดังนั้นการรู้ทันเเละเข้าใจสภาวะของตนเอง หรือ self-awareness จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เราเข้าใจ ยอมรับ รวมไปถึงควบคุม บทบาทของตนองในสถานการณ์ต่างๆที่ส่งผลต่อผู้อื่น โดยหลายบทความยกให้ self-awareness เป็นทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 Self-awareness คืออะไร Self-awareness คือ การตระหนักรู้ในตัวเอง รู้ว่าขณะนี้กำลังคิดอะไร รู้สึกอย่างไร กระทำอะไรอยู่ ตลอดจนรู้ถึงสาเหตุที่ส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกและพฤติกรรมใน ณ ขณะนั้นเพื่อที่จะควบคุมการตอบสนองของตนเองที่กระทบต่อบุคคลอื่น อ้างอิงจาก TASHA EURICH นักจิตวิทยาองค์กร เเละผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนา self-awareness โดยเธอได้กล่าวว่า self-awareness นั้น…
ไปต่อหรือพอเเค่นี้ดีนะ ? สำหรับความสัมพันธ์ของคู่รักที่ความรักกำลังอิ่มตัวนั้น คำถามนี้ยังคงรอการตัดสินใจ เเต่การตัดสินใจที่ดี อย่างน้อยที่สุด ควรพิจารณาเหตุเเละปัจจัยที่ส่งผลถึงปัญหาหรือคำถามที่ตั้งไว้ งานวิจัยจาก Rusbult เเละทีมในปี 1998 ได้นำเสนอ โมเดลการลงทุนในความสัมพันธ์ว่ามีปัจจัยอะไรบ้าง ซึ่ง 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1.) ความพึงพอใจในความสัมพันธ์ (Satisfaction Level) 2.)คุณภาพของตัวเลือก (Quality of alternatives) 3.)ปริมาณการลงทุนที่ลงไปก่อนหน้านี้ (Investment size) โดยปัจจัยเหล่านี้ล้วนสัมพันธ์กับระดับของพันธะผูกพัน (Commitment Level) ซึ่งส่งผลต่อความเป็นไปได้ในการยึดมั่นในความสัมพันธ์ (Probability of Persistence) ดังสัมการ C =(S – A)…