Home2020October9งาน 6 แบบที่เราต้องจัดการในช่วงงานยุ่ง Life Hack งาน 6 แบบที่เราต้องจัดการในช่วงงานยุ่ง “คุณพอมีเวลาสัก 30 นาทีหรือไม่” หากมีคนถามคำถามนี้กับคุณ หากคุณว่างจริงๆ หรือเต็มใจที่จะทำสิ่งนั้นคุณจะตอบว่า “มี” แต่หากคุณมีภารกิจในชีวิตประจำวันเต็มไปหมด ตั้งแต่เช้าจนเย็น ตารางงานหรือ Google Calendar ของคุณเต็มไปด้วยการนัดหมายมากมาย การที่คุณจะตอบว่า “มี” หรือ “ไม่มี” นั้น ขึ้นอยู่กับว่าภารกิจอื่นๆของคุณนั้นมีความจำเป็นหรือความสำคัญมากหรือน้อยกว่านัดหมายใหม่ที่เข้ามา บทความนี้อาจเป็นตัวช่วยให้คุณ บริหารจัดการตัวเองได้ดีเยี่ยมยิ่งขึ้นได้ เพราะเราได้เขียนบทความนี้ขึ้นจาก Workshop “Time Management” ของคุณพริม มณีโชติ วิทยากรด้านการบริหารจัดการเวลานี่เอง คุณเคยตั้งคำถามกับชีวิตตัวเองไหมว่า “เวลาของเรามีค่ามากน้อยแค่ไหน” แต่ไม่ว่าคำตอบจะมากหรือน้อยก็ตาม คุณจะรู้สึกว่าเวลาเหล่านั้นมีค่า ก็ต่อเมื่อเราได้ทำกิจกรรมที่ตัวเราได้ให้คุณค่ากับสิ่งนั้นด้วยเช่นกัน เริ่มจากค้นหาเป้าหมายชีวิตของตนเอง ว่าเราให้ความสำคัญกับเรื่องไหนบ้าง ไม่ว่าจะเป็น เป้าหมายในอาชีพและการทำงาน เป้าหมายด้านการเงินและความมั่นคง เป้าหมายด้านความรักความสัมพันธ์ เป้าหมายด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมไปถึงเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง และแต่ละเรื่องนั้นมีอะไรที่สำคัญกับคุณ จากนั้นใช้เครื่องมือ “การสำรวจการใช้เวลาของตัวเอง” (Tracking Yourself) 6 อย่าง ที่จะช่วยให้คุณได้เดินทางในเส้นทางที่พาไปสู่เป้าหมายชีวิต Core Responsibility (ภารกิจหลัก) : นับเป็นสิ่งที่เราใช้เวลาเยอะสุด สิ่งที่เราอยากทำให้เสร็จสิ้น เช่น การทำงานฟรีแลนซ์ เลี้ยงลูก งานประจำ เป็นต้น Crisis (เวลาฉุกเฉิน) : สิ่งที่เราไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น คนส่วนใหญ่จึงลืมเผื่อเวลาให้เรื่องนี้ สิ่งที่เราต้องจัดการเดี๋ยวนั้น ซึ่งถ้าไม่เผื่อไว้อาจกระทบภารกิจหลัก Managing People (งานที่คนอื่นทำได้) : การหาหนทางที่ทำให้งานของเราเร็วขึ้น หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึง Outsourcing หรือการให้คนอื่นช่วยงานที่เราไม่ถนัด Free Time (เวลาผ่อนคลาย) : การมีช่วงเวลาได้พัก ช่วยให้เราได้มีภารกิจหลักที่ Productive มากขึ้น Personal Growth (สร้างการเติบโต) : การพัฒนาชุดความรู้ของตัวเอง รวมทั้งการพัฒนาจิตใจ การเยียวยาจิตใจ การออกกำลังกาย การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เป็นต้น Maintainance (การจัดการตัวเอง) : สิ่งล็กน้อยที่ต้องจัดการ เคลียร์เรื่องที่ค้างคา เพื่อพร้อมรับวันใหม่อยู่ตลอดเวลา เช่น งานบ้าน ตอบอีเมล์ การจัดการงานที่คั่งค้าง การเขียนไดอารี่ Do-to-list หรือแม้กระทั่งการทำบัญชีรายรับรายจ่าย เป็นต้น เมื่อคุณได้สะท้อนตัวเองแล้ว คุณจะเห็นรูปแบบ (Pattern) การใช้เวลาของตนเอง และสามารถปรับการใช้เวลาบางอย่างที่ไม่ได้สำคัญกับชีวิตคุณให้น้อยลงได้ และคิดเสมอว่า “อย่าอัดตารางแน่นเกินไป” เผื่อเวลาฉุกเฉินที่เข้ามากระทบ รวมทั้ง “การที่คุณได้มีช่วงเวลาที่ได้พัก ทำให้คุณมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นด้วยเช่นกัน” Share this:Click to share on Twitter (Opens in new window)Click to share on Facebook (Opens in new window)Like this:Like Loading... Related Panthipa Share This Previous Articleปรับตัวช่วง New Normal กับหนังสือ 5 เล่ม Next Article1 Drink I can TALK วันปล่อยผี October 9, 2020