Home2020April221A3P : เทคนิคดี ๆ ที่ทำให้ห่างไกลโรคซึมเศร้า (1 Drink I Can Talk : Online) Life Hack Review 1A3P : เทคนิคดี ๆ ที่ทำให้ห่างไกลโรคซึมเศร้า (1 Drink I Can Talk : Online) หลังจากดำเนินโครงการ 1 Drink I Can Talk ในรูปแบบออนไลน์ ครั้งแรก!! ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว ทางทีมงานจึงขอนำเนื้อหาที่ประโยชน์ในการใช้ชีวิตระหว่างช่วงเคอร์ฟิว ให้เรามีชีวิตชีวาและมีความสุขกันมาฝาก กิจกรรม 1 Drink I Can Talk (Online) ที่ผ่านมา ทีมงานได้เชิญ คุณแก้ม จาก Understand มาแบ่งปันความรู้ในหัวข้อ “Anti – COVID Depression” ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคซึมเศร้าในช่วง COVID-19 โดยคุณแก้ม นักศึกษาแพทยศาสตร์ หนึ่งในสมาชิกจากทีมงาน UNDERSTAND ได้มาแบ่งปันข้อคิดและแนวทางการปฏิบัติตัวง่าย ๆ โดยใช้ตัวย่อว่า “1A3P” ได้แก่ (Adaptive, Productive, Positive, และ Patient) โดยมีรายละเอียด สรุปเนื้อหาจาก Understand : 1A3P ดังนี้ 1. Be Adaptive : การปรับตัวและพัฒนาตนเอง– ปรับการพุดคุยพบปะกัน มาเป็น Online Call ในการพูดคุยกัน – การทำงานที่ปกติต้องเดินทางไปทำงานที่ออฟฟิศ ตอนเช้า ปรับเปลี่ยนมาเป็น Work From Home และประชุมกันด้วย Online Meeting– การเรียนรู้พัฒนาตนเอง – การที่เรากักตัวอยู่บ้านทำให้เรามีเวลาดูแลตัวเอง พัฒนาตนเองให้ความรู้ ความพร้อมในการทำงานมากขึ้นในอนาคต 2. Be Productive : การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ สิ่งสำคัญในชีวิตอย่างแรกคือสัมพันธภาพที่ดี ในเวลาแบบนี้เราได้เวลาคุณภาพที่ได้อยู่กับคนในครอบครัวมากขึ้นเรามีช่วงเวลาที่มีคุณค่าในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ เช่น ออกกำลังกาย การฝึกสติการรับข้อมูลที่ถูกต้อง – เราได้รับข้อมูลข่าวสารมากมายมากขึ้น เราสามารถใช้เวลาส่วนนี้มากลั่นกรองข้อมูลที่เราได้รับได้เรามีช่วงเวลาดีๆ ในการผ่อนคลาย – หลายๆคนได้งานอดิเรกใหม่ๆในช่วงเวลานี้ เช่น ทำอาหาร งานฝีมือ ฝึกแต่งหน้า เต้น เล่นดนตรี ฯลฯ 3. Be Positive : เปลี่ยนมุมมอง และมองมุมต่าง ถ้าเราติดตามข่าวสิ่งแวดล้อม จะได้ยินข่าวดีของสภาพอากาศที่ PM 2.5 ลดลง, โอโซนในชั้นบรรยากาศกลับมาดีขึ้น, เต่าหญ้าออกมาวางไข่บนชายหาดในรอบหลายร้อยปี 4. Be Patient : ใจเย็น ๆ มีสติ ค่อย ๆ คิด มีสติกับการรับข้อมูลข่าวสารการเงิน – ระมัดระวังในการใช้จ่ายกับการกักตุนอาหารหรือสิ่งของต่าง ๆ มากเกินไป, เพื่อให้เราเตรียมพร้อมกับรายได้และค่าใช้จ่ายในระยะยาว สุดท้ายนี้ อยากให้เรา “ขอบคุณตัวเอง” มีความรับผิดชอบต่อสังคมในการกักตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ Share this:Click to share on Twitter (Opens in new window)Click to share on Facebook (Opens in new window)Like this:Like Loading... Related Panthipa Share This Previous Article1 Drink I can TALK (English Version) Next Articleชวนคุยเรื่องกฏหมายนายจ้าง ลูกจ้างกับพี่เบียร์ April 22, 2020