Home2018June7แก็ดเจ็ตแปลกๆที่เกิดมาเพื่อดัดนิสัยคุณ Life Hack แก็ดเจ็ตแปลกๆที่เกิดมาเพื่อดัดนิสัยคุณ ถ้าสมมุติว่ามีคนมาชวนเล่มเกมง่ายๆที่คุณต้องจ่าย 10,000 บาทถ้าเหรียญออกหัว แต่คุณรับไปเลย 10,000 บาทถ้าเหรียญออกก้อย คุณจะตกลงเล่นเกมนี้ไหม? คำตอบคือน้อยคนที่จะตกลงเล่นเกมนี้ถึงแม้ว่ากติกาจะแฟร์มากๆก็ตาม เพราะคุณมองเห็นแต่โอกาสที่จะเสียเงินมากกว่าโอกาสที่จะได้เงินฟรีๆ แน่นอนว่ารางวัลคือแรงจูงใจที่ดี แต่การลงโทษก็มีประสิทธิภาพไม่แพ้กันโดยเฉพาะถ้าเราอยากจะเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง นั่นก็เพราะว่าเราอ่อนไหวต่อผลเสียมากกว่าผลดีอย่างที่ยกตัวอย่างในตอนต้น SnūzNLūz Thinkgeek ได้คิดค้นนาฬิกาปลุกที่จะช่วยให้เรากลายเป็นคนตื่นเช้า เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เรากดปุ่ม snooze ระบบจะตัดเงินจำนวนหนึ่งจากบัญชีที่ผูกไว้แล้วบริจาคให้กับองค์กรที่เราต่อต้าน ยกตัวอย่างเช่น สนับสนุนพรรคริพับลิกันหรอ? ตั้งค่าบริจาคให้พรรคเดโมแครตสิ หรือเป็นคนขายเนื้อ? ตั้งค่าบริจาคให้ PETA สิ นี่แหละ “you snooze, you lose!” Website Pavlok Maneesh Sethi นักธุรกิจผู้เคยจ้างคนมาตบหน้าถ้าเขาเล่น Facebook และเขาพบว่าได้ผลดีมาก จึงตัดสินใจออกแบบ Pavlok สายรัดข้อมือที่ส่งกระแสไฟฟ้าช็อตคนใส่เมื่อทำนิสัยที่ไม่พึงประสงค์ เช่น กัดเล็บหรือขบฟัน เป็นการบำบัดด้วยสิ่งเร้าที่ไม่พึงประสงค์ (Aversion therapy) โดยแนะนำว่าให้ผู้ใช้งานใส่อย่างน้อย 5 วันเพื่อเลิกนิสัยนั้นๆได้อย่างเด็ดขาดที่สุด Sethi อ้างว่าน้อยคนที่จะสามารถเลิกบุหรี่แบบหักดิบ แต่ 55% ของกลุ่มตัวอย่างที่ใส่อุปกรณ์นี้สามารถเลิกบุหรี่ได้ภายใน 5 วัน! Campaign นี้ถูกระดมทุนสาธารณะผ่าน Indiegogo และได้รับการสนับสนุนเกือบ 10 ล้านบาท! มากกว่าที่คาดหวังไว้ 5 เท่า สูตรลับความสำเร็จของแก็ดเจ็ตนี้อยู่ที่การใช้งานง่ายและผลลัพธ์ที่น่าเชื่อถือนั่นเอง Website | YouTube Moti อย่างไรก็ตาม Kayla Matheus เห็นว่าผู้ใช้งานเลิกใส่อุปกรณ์เหล่านี้เมื่อเวลาผ่านไป และสถิติการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ก็ลดลงเรื่อยๆ เธอจึงออกแบบ Moti แก็ดเจ็ตที่เรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้งาน เราสามารถกดปุ่มเมื่อทำตามเป้าหมายสำเร็จ เช่น การออกกำลังกายหนึ่งครั้งต่อวันหรือเข้านอนก่อนสี่ทุ่ม แล้ว Moti จะฉายแสงสีรุ้งพร้อมกับส่งเสียงอย่างมีความสุข ถ้าเราเริ่มออกนอกเส้นทาง Moti จะดึงสติเบาๆ เราสามารถลบการแจ้งเตือนได้แต่นั่นจะทำให้ Moti งอนหรือเสียใจไม่น้อย ถ้าถูกปล่อยให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว Moti จะฉายแสงสีแดงและส่งเสียงอย่างไม่มีความสุขเท่าไหร่ การทดลองเผยให้เห็นว่าผู้ใช้งานสร้างความผูกพันต่อ Moti ที่ตอนแรกเป็นแค่สิ่งของ แต่ต่อมาก็กลายเป็นสิ่งเตือนใจที่อยู่ในสายตาผู้ใช้งานตลอดเวลา พวกเขารู้สึกถึงความรับผิดชอบต่ออุปกรณ์ตัวนี้ ราวกับว่าไม่อยากทำให้ Moti ผิดหวัง (ก็น้องน่ารักขนาดนี้!) Website | Kickstarter นอกจากนี้การเลือกรางวัลและบทลงโทษที่ส่งผลกับคนที่เราแคร์ก็ได้ผลดีเช่นกัน Don’t Waste Your Money มีวิธีเล่นง่ายๆก็คือ ตั้งเป้าหมาย เช่น เล่นโทรศัพท์น้อยกว่า 3 ชม.ต่อวัน และลดจำนวนลง 15 นาทีต่อสัปดาห์ จบเดือนคุณจะเล่นโทรศัพท์เฉลี่ยไม่เกิน 2 ชม.ต่อวัน นำเงินจำนวนหนึ่งใส่จดหมาย เช่น 1,500 บาท (ไม่ควรเยอะเกินไปจนล้มละลายได้ถ้าเสียติดต่อกันตลอดสี่สัปดาห์) แล้วจ่าหน้าซองถึงองค์กร ไอดอล หรือเพจแปลกๆที่คุณไม่อยากจะสนับสนุน ถ้าคุณทำตามเป้าหมายในแต่ละวันได้สำเร็จ คุณจะเปิดซองจดหมายและใช้จ่ายอย่างสมเหตุสมผล เช่น ซื้อของขวัญให้ครอบครัวหรือเลี้ยงข้าวเพื่อนสนิท ฉะนั้นการล้มเหลวของคุณจะส่งผลต่อคนรอบข้าง ในขณะเดียวกันการทำเพื่อคนอื่นจะทำให้คุณมีความสุขกว่าการใช้จ่ายเพื่อตัวเองคนเดียว Demetricator การออกแบบเชิงพฤติกรรม (Behavioral Architecture) ทำให้รู้ว่าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุที่อยู่รอบตัวได้ 100% Benjamin Grosser กล่าวว่า Facebook เต็มไปด้วยตัวเลขที่วัดและแสดงสถานะในสัมคมของเรา เช่น จำนวนเพื่อน ยอดไลค์ ความคิดเห็น ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ผู้ใช้เสพติด เขาจึงออกแบบ Demetricator ให้เป็นส่วนขยาย (add-on) ของบราวเซอร์ ทำหน้าที่ซ่อนตัวเลขเหล่านี้เพื่อเบี่ยงเบนผู้ใช้ออกจากเส้นทางการเสพติด เพื่อให้เราจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น และเพื่อทำลายมาตรการที่วัดคุณค่าของคนด้วยปริมาณมากกว่าคุณภาพ โดยที่ยังสามารถเล่น Facebook ได้เหมือนเดิมนั่นเอง สามารถโหลดใช้ได้ที่ Website WasteNoTime ถ้าคุณต้องการจัดระเบียบเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเคร่งครัด WasteNoTime เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ มันจะบันทึกว่าคุณใช้เวลากับเว็บไซต์ที่ตั้งค่าไว้นานเท่าไหร่ เราอาจจะใส่ Facebook, Twitter หรือ YouTube ในรายการที่ต้องการบล็อค โดยสามารถเลือกได้ว่าจะบล็อคถาวรหรือตั้งเวลาจำกัดการใช้งาน เช่น ตั้งเวลาแบบเข้างวดช่วงทำงานและก่อนนอน ถ้าหมดเวลาก็จะเข้าใช้เว็บนั้นๆไม่ได้ ส่วนใครที่คิดจะโกง บอกได้เลยว่าระบบที่ยุ่งยากจะทำให้คุณถอดใจเสียก่อน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดแข็งของ add-on ตัวนี้ สามารถโหลดใช้ได้ที่ Website คนกลุ่มหนึ่งอยากเลิกพฤติกรรมบางอย่าง ส่วนคนอีกกลุ่มหนึ่งเห็นโอกาสที่จะตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มแรกโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ในเมื่อเราไม่คงสามารถหาสภาพแวดล้อมที่ปราศจากสิ่งยั่วยุได้ เราก็ต้องหาทางรับมือกับสิ่งเหล่านี้ไม่ให้นำไปสู่การเสพติด และต้องไม่รอแก้ที่ปลายเหตุหรือรับผิดชอบผลเสียที่ตามมาในระยะยาว #THEBOATZAA อ้างอิง: Alter, A. (2017) Irresistible: Why We Can’t Stop Checking, Scrolling, Clicking and Watching. Oosthuyzen, M. (2013) Benjamin Grosser – Facebook Demetricator and the Easing of Prescribed Sociality [online] Share this:Click to share on Twitter (Opens in new window)Click to share on Facebook (Opens in new window)Like this:Like Loading... Related Pakkanun Piyanutpoon #THEBOATZAA Share This Previous ArticleTourism Tech Startup Hackathon สำหรับคนอยากลุย Travel tech พร้อมเงินสนับสนุน 5 หมื่นบาท ! [เข้าร่วมฟรี] Next Articleเคล็ดลับง่ายๆในการตั้งชื่อบริษัท June 7, 2018