Home2018April10นำเสนอให้ชนะใจคนฟังด้วยสไลด์แค่ 10 หน้าเท่านั้น Entrepreneurship นำเสนอให้ชนะใจคนฟังด้วยสไลด์แค่ 10 หน้าเท่านั้น เวลาที่ต้องนำเสนองาน เชื่อว่าใครหลายคนพยายามจะเก็บรายละเอียดให้ครบทุกเม็ด ใช้สไลด์เยอะขนาดไหนก็ได้ เน้นที่ปริมาณของข้อมูลมากกว่าคุณภาพ แต่จริงๆแล้วการนำเสนองานที่ดีโดยเฉพาะการ pitch ควรมีองค์ประกอบหลักดังนี้ มีจำนวนสไลด์ทั้งหมด 10 หน้า เพราะมนุษย์ธรรมดาๆคนหนึ่งสามารถทำความเข้าใจได้ไม่เกิน 10 ประเด็นในหนึ่งการประชุม/การนำเสนอ และนักร่วมลงทุนก็เป็นคนธรรมดามากๆ ถ้าเราใช้มากกว่า 10 สไลด์เพื่ออธิบายการทำธุรกิจ เราอาจจบด้วยการไม่มีธุรกิจให้ทำ (แรงส์!) ใช้เวลาทั้งหมด 20 นาที แม้ว่าเราจะมีเวลา 1 ชม.ก็ตาม เผื่อเวลาสำหรับเปิดสไลด์ เชื่อมต่อโปรเจกเตอร์ ถึงการติดตั้งจะราบรื่น ก็อาจมีคนที่มาสายหรือคนที่จะกลับก่อน ฉะนั้นเราต้องนำเสนอให้กระชับที่สุด และเหลือ 40 นาทีไว้สำหรับอย่างอื่นโดยเฉพาะการสนทนา ตัวอักษรขนาด 13 หรือมากกว่า คนส่วนใหญ่จะใช้ขนาด 10 พยายามอัดทุกตัวอักษรให้อยู่บนสไลด์ แล้วคนนำเสนอก็อ่านสไลด์ เมื่อผู้ฟังรู้ว่าเรากำลังอ่านสไลด์ พวกเขาจะเริ่มอ่านนำหน้าเรา เพราะการอ่านเร็วกว่าการพูด ผลที่ตามมาคือเรากับผู้ฟังเข้าใจไม่ตรงกัน มาดูกันว่า 10 สไลด์สำหรับการนำเสนอแบบ Pitch ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง 1. หัวข้อ: ชื่อบริษัท ชื่อผู้นำเสนอ และหัวข้อ ที่อยู่ อีเมล และเบอร์โทร 2. ปัญหา/โอกาส: อธิบายปัญหาที่เราจะแก้ไข หรือโอกาสที่เราจะมอบให้ 3. เสนอคุณค่า: ประเมินคุณค่าของปัญหาที่เราจะแก้ไข หรือโอกาสที่เราจะมอบให้กับลูกค้า เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะให้สินค้า/การบริการของเราโดดเด่นกว่าคู่แข่งและประสบความสำเร็จ 4. ความพิเศษ: อธิบายสูตรลับรหัสความสำเร็จ (secret sauce) เช่น เทคโนโลยีใหม่ๆ ใส่ตัวอักษรได้น้อยเท่าไหร่ยิ่งดี เน้นไปที่รูปภาพ กราฟ แผนผังต่างๆ ถ้าเรามีแบบจำลอง (prototype) หรือการสาธิต (demo) ก็สามารถนำเสนอในส่วนนี้ได้เลย Glen Shires จากแผนกวิจัยของ Google กล่าวว่า ถ้าหนึ่งรูปภาพมีค่าเท่ากับหนึ่งพันคำ หนึ่ง prototype ก็มีค่าเท่ากับหนึ่งหมื่นสไลด์ 5. โมเดลธุรกิจ: แจกแจงว่าเงินของเรากำลังนอนรออยู่ในกระเป๋าใคร แล้วเราจะทำอย่างไรให้ได้เงินนั้นมาใส่ในกระเป๋าเรา ตรงนี้หมายถึงการนำเสนอแผนธุรกิจ การวิจัยตลาด กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และต่างๆนั่นเอง 6. แผนการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า หรือที่เรียกว่า Go-to-market strategy (GTM): อธิบายแผนการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยไม่ใช้เงินเยอะเกินไป ควรมีทั้งระยะสั้นและระยะยาวตามลำดับ 7. การวิเคราะห์การแข่งขัน: วิเคราะห์คู่แข่งในตลาดกลุ่มกลยุทธ์เดียวกันแบบละเอียด ท่องไว้ว่าข้อมูลเยอะดีกว่าข้อมูลน้อย 8. ทีมบริหาร: กล่าวถึงตัวเต็ง (key players) ของทีมบริหาร คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการที่ปรึกษา รวมไปถึงผู้ร่วมลงทุนของเรา อย่ากังวลกับส่วนนี้เกินไปเพราะถ้าทีมของเราสมบูรณ์แบบ เราคงไม่ต้องมา pitch แล้วล่ะ 9. การวางแผนทางการเงิน: พยากรณ์ทางการเงินล่วงหน้า 3 ปี พร้อมด้วยตัวชี้วัดความสำเร็จ (key metrics) อย่างจำนวนลูกค้า หรือ conversion rate (สัดส่วนลูกค้าที่ซื้อสินค้าหรือใช้บริการต่อผู้เข้าชมทั้งหมด) ทำแบบ top-down เช่น วิจัยตลาด บริษัท และกลุ่มลูกค้า แล้วจึงนำข้อมูลมาคำนวนว่าบริษัทจะได้ส่วนแบ่งตลาดกี่เปอร์เซ็นต์ต่อปีในอนาคต 10. ไทมไลน์: อธิบายความคืบหน้าของผลิตภัณฑ์ในปัจจุบัน เป้าหมายต่อไปคืออะไร เรามองอนาคตไว้แบบไหน และเราวางแผนจะใช้เงินที่ได้มาอย่างไร จุดประสงค์ของการนำเสนองานโดยเฉพาะการ pitch คือดึงความสนใจ ให้มากพอที่จะทำให้มีการนัดพูดคุยครั้งถัดไป ไม่ใช่เพื่อครอบคลุมทุกรายละเอียดที่สามารถไปอ่านเพิ่มเติมได้ในรายงานของเรา และยังเป็นการยัดเยียดข้อมูลให้ผู้ฟังมากเกินไปจนเกิดผลเสียมากกว่าผลดี ฉะนั้นการฝึก pitch และรู้เทคนิคเหล่านี้ถือเป็นข้อได้เปรียบ ถ้าไอเดียดี แต่นำเสนอแบบไม่มีประสิทธิภาพ คนฟังก็ไม่อาจจับใจความได้ว่าไอเดียของเราดีอย่างไร #THEBOATZAA อ้างอิง: Kawasaki, G. (2015) The Only 10 Slides You Need in a Pitch [online]. Share this:Click to share on Twitter (Opens in new window)Click to share on Facebook (Opens in new window)Like this:Like Loading... Related Pakkanun Piyanutpoon #THEBOATZAA Share This Previous Articleสิ่งที่เราอยากให้คุณรู้ ก่อนเริ่มทำ Startup Next ArticleHow to get YSEALI scholarship to USA by Nep Capture April 10, 2018