Home2018March22เคยสงสัยไหมว่าทำไมคนรวยถึงรวยขึ้น? Life Hack เคยสงสัยไหมว่าทำไมคนรวยถึงรวยขึ้น? คนเราส่วนใหญ่มักมีปัญหาทางด้านเงินเพราะ “รายจ่าย (expenses) เยอะกว่ารายรับ (income)” และพยายามหาทางออกด้วยการเพิ่มรายรับให้มากกว่าเดิม แต่การทำงานหนักขึ้นไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีเสมอไป ก่อนอื่น มารู้จักความแตกต่างระหว่างกระแสเงินสด (cash flow) ของคนจน คนชั้นกลาง และคนรวย เพื่อที่เราจะได้เข้าใจการบริหารเงินของตัวเองมากขึ้น และไตร่ตรองมุมมองที่เราอาจไม่เคยนึกถึงมาก่อน “อยู่รอดด้วยเงินที่หามาได้เพื่อหาเงินให้อยู่รอดต่อไป” อาจจะเป็นประโยคของใครหลายคนที่กำลังประสบปัญหาด้านเงินขั้นรุนแรง ถึงจะทำงานหนักแค่ไหน รายได้นั้นพอสำหรับใช้จ่ายแค่สิ่งที่จำเป็นอย่าง ภาษี ค่าเช่า อาหาร และเสื้อผ้าเท่านั้น คนชั้นกลางส่วนใหญ่จะมีงานรายได้สูง บ้านสวยๆหนึ่งหลัง รถดีๆสักคัน และบัตรเครดิต ซึ่งหนี้สินก็พอกพูนจากการซื้อไลฟ์สไตล์ที่สวยหรูขึ้นนี่เอง ถึงแม้ว่าชีวิตของคนกลุ่มนี้จะดูดีพอสมควร แต่เราอาจจะไม่ได้ตระหนักว่า “กำลังใช้ชีวิตแบบพึ่งพางาน” ยิ่งฝันไว้เท่าไหนก็ต้องทำงานหนักขึ้นเท่านั้น ทุกอย่างจะพังทันทีถ้าเกิดโดนพักงานหรือไล่ออก ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยที่ควบคุมได้อย่างประสิทธิภาพในการทำงานของเราเอง หรือปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อย่างสภาพเศรษฐกิจที่มีขึ้นก็มีลง คนรวยจะเน้นที่การสร้างรายได้จากสินทรัพย์ (asset) เช่น กำไรจากการขายหลักทรัพย์ (capital gains) เงินปันผล (dividends) และกำไรคงเหลือ (residual income) เป็นการลงทุนในสินทรัพย์เพื่อเพิ่มรายรับ ไม่ใช่การลงทุนในหนี้สินเพื่อเพิ่มรายจ่าย ปัญหาหลักๆของคนจนกับคนชั้นกลางคือการลงทุนกับหนี้สินที่ตัวเองคิดว่าเป็นสินทรัพย์ ส่วนใหญ่เกิดจากการพูดชักจูงของธนาคารหรือบรรทัดฐานของสังคม ยกตัวอย่างเช่น เราลงทุนซื้อบ้านหลังใหญ่เพื่อครอบครัว เพื่อหน้าตาในสังคม แล้วทำงานเพื่อชำระหนี้ บ้านหลังนี้จึงเป็นหนี้สิน (liabilities) ที่เพิ่มรายจ่ายให้เรา ต้องทำงานหนักขึ้น เงินเดือนเพิ่มขึ้นก็ต้องจ่ายภาษีเยอะขึ้น ฉะนั้นเราต้องแยกให้ออกว่า สินทรัพย์กับหนี้สินแตกต่างกันอย่างไร สินทรัพย์ใส่เงินเข้ากระเป๋า หนี้สินเอาเงินออกจากกระเป๋า เมื่อเราสามารถสร้างรายรับจากทรัพย์สินจนเกินรายจ่ายไปมหาศาล เมื่อนั้นการการซื้อรถหรูๆสักคันหนึ่งเป็นรางวัลตัวเอง ก็ไม่มีผลกระทบอะไรกับกระแสเงินสดของเราเลย เพราะช่องสินทรัพย์ของคนรวยสร้างรายได้มากพอสำหรับรายจ่าย เงินที่คงเหลือถูกนำไปลงทุนกับสินทรัพย์เพิ่ม ขยายช่องสินทรัพย์ให้ใหญ่ขึ้น รายได้จากสินทรัพย์ก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย สิ่งสำคัญคือการตระหนักถึงปัญหาของตัวเอง แก้ปัญหาด้วยความสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ และมีผลระยะยาว เราอาจเริ่มต้นด้วยการหยุดเพิ่มหนี้สิน ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม (ติดตาม Sharing Citizen ไว้!) แล้วการบริหารเงินของเราจะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน #THEBOATZAA Cashflow (n.) งบกระแสเงินสด Income statement (n.) งบกำไรขาดทุน Balance sheet (n.) งบดุล อ้างอิง: Kiyosaki, R. (2015) Rich Dad Poor Dad: What the Rich Teach Their Kids About Money – That The Poor And Middle Class Do Not! Kiyosaki, R. (2016) New Rule of Money #3: Learn How to Control Cash Flow [online] Share this:Click to share on Twitter (Opens in new window)Click to share on Facebook (Opens in new window)Like this:Like Loading... Related Pakkanun Piyanutpoon #THEBOATZAA Share This Previous ArticleThisable.me ไม่ใช่เพื่อคนพิการ แต่คือพื้นที่สร้างความคุ้นเคยสำหรับทุกคน Next Articleสิ่งที่เราอยากให้คุณรู้ ก่อนเริ่มทำ Startup March 22, 2018